วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เปรียบเทียบ Six Sigma กับ Software Development Technology (DMAIC กับ SDLC)

เปรียบเทียบข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่าง Six Sigma กับ Software Development Technology
หรือ DMAIC กับ SDLC

1. Six Sigma
ปัจจุบันมีเทคนิคในการจัดการสมัยใหม่ช่วยในการบริหารคุณภาพที่เรียกว่า Six Sigma (ซิกซ์ ซิกม่า) เพื่อการมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ (Six Sigma : Breakthrough Business Excellence)
Six Sigma เป็นวิธีการปฏิบัติที่ดีเลิศในปัจจุบัน เพื่อการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจทุกกระบวนการและเป็นวิธีที่นิยมทั่วโลกในขณะนี้ วิธีการของ Six Sigma ได้เริ่มมีการประยุกต์ใช้ในบริษัทโมโตดรล่า ในช่วงปี ค.ศ. 1980 โดยมุ่งเน้นที่การลดต้นทุนและปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่บริษัทวางไว้ นอกจากนี้ ปัจจุบันบริษัทชั้นนำหลายบริษัททั่วโลกได้เล็งเห็นประโยชน์และได้นำมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ บริษัท General Electric บริษัท Sony บริษัท Allied signal และบริษัท Eastman Kodak บริษัท โมโตโรล่า เป็นต้น ผลจากการประยุกต์ใช้วิธีการ Six Sigma ดังกล่าวทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนได้นับหลายร้อยล้านบาท ความสัมพันธ์ระหว่าง TQM และ Six Sigma คือ TQM ตั้งเป้าหมายคือการพัฒนาและการควบคุมคุณภาพโดยการหาจุดผิดพลาด Mikel Harry ได้กล่าวว่า Six Sigma คือวิถีแห่งระบบคุณภาพแบบหลายมิติ อันประกอบด้วยรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน การจัดการที่ลงตัว และการตอบสนองตามหน้าที่ในองค์การ ซึ่งลูกค้าและผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนร่วมกันทั้งสองฝ่าย คือ ได้อรรถประโยชน์ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า
Six Sigma ครอบคลุมปัจจัยต่างๆคือ การสร้างระบบและโครงสร้างการทำงานร่วมกับฝ่ายบริหาร ที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ การใช้มาตรวัด (Metrics) การคัดเลือกบุคลากรทีมงานที่เหมาะสม การคัดเลือกหน่วยงานภายนอกที่สามารถช่วยดำเนินการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประยุกต์เครื่องมือในการทำงาน การกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นระบบ
Six Sigma คือ กระบวนการเพื่อลดความผิดพลาด (Defect) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆโดยมุ่งเน้นให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดและมีความสูญเสียได้ไม่เกิน 3.4 หน่วยในล้านหน่วย หรือเรียกอีกอย่างว่า ความสูญเสียโอกาสลงให้เหลือเพียงแค่ 3.4 หน่วยนั่นเอง (Defect per Million Opportunities, OPMO) สัญลักษณ์ที่นิยมใช้กันทางสถิติคือ Sigma ตามความหมายของ Six Sigma ตามสถิติหมายถึงขอบเขตข้อกำหนด (Specification Limit) และการแจกแจงปกติ (Normal Distribution) ขอบเขตข้อกำหนดบนมีค่าเป็น 6 หมายถึง ที่ระดับ Sigma มีของเสียงเพียง 0.022 ชิ้น จากจำนวนของทั้งหมด 1,000,000 ชิ้นนอกจากนี้การประยุกต์ใช้ Six Sigma ภายในองค์การยังช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบปัญหาภายในบริษัทด้วยข้อมูลที่แม่นยำและเชื่อถือได้ (Data – Driven Business) แล้วทำการวิเคราะห์ปัญหาโดยหลักสถิติ (Statistical analysis Process) เพื่อการปรับปรุงและควบคุมไม่ให้ปัญหานั้นๆเกิดขึ้นซ้ำอีก เนื่องจากในการแก้ไขปรับปรุงใดๆนั้นต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอและแม่นยำเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ และแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง
ตามหลักการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบานการผลิตโดยทั่วไปสามารถทำได้ 2 วิธีคือ Lean Manufacturing และ Six Sigma ทั้งสองวิธีมีหลักต่างกันคือ การนำเอา Lean Manufacturing มาใช้ในองค์การจะช่วยให้
1. เทคนิคการรับเปลี่ยนสายการผลิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดเวลาในการเตรียมเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
2. ช่วยให้โรงงานสามารถปรับปรุงหน่วยผลิต ด้วยการจัดเครื่องอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับปริมาณการผลิต
3. การผลิตทันเวลาพอดี (Just in time) ช่วยลดจำนวนสินค้าในสต๊อกรวมทั้งการจัดส่งวัตถุดิบมาป้อนให้หน่วยผลิตอย่างเหมาะสมทันตามเวลาการผลิต
ในขณะเดียวกัน Six Sigma จะเน้นที่จำนวนชิ้นงานให้ลดความผันแปรของกระบวนการผลิตความหมายของ (Sigma) เป็นตัวอักษรกรีก หมายถึง ความเบี่ยงเบนมาตรฐานของกระบวนการ (Standard Deviation) เพื่อใช้วัดความแปรปรวนเฉลี่ยมาตรฐาน ผลที่เกิดจากการใช้ Six Sigma คือ ลดอัตราการสูญเสียและลดค่าใช้จ่าย การนำ Six Sigma มาใช้จะประสบความสำเร็จกันเป็นส่วนใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามมีแนวคิดว่าสามารถนำไปใช้ได้ทุกกระบวนการที่เกี่ยวกับลูกค้า

What is Six Sigma?
§ Six Sigma is a statistical term
§ Six Sigma is a business strategy
§ Six Sigma is a problem solving system
Six Sigma คืออะไร
§ Six Sigma มีความหมายในทางสถิติ หมายถึง โอกาสการเกิดความผิดพลาดในกระบวนการเพียง 3.4 ครั้ง ต่อ ล้านครั้ง
§ Six Sigma ถูกนำมาเป็นชื่อของโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในเชิงธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความผันแปร (Variation) ของกระบวนการ เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเพิ่มกำไรขององค์กร
§ ในขณะเดียวกัน Six Sigma ก็ถูกนำมาใช้เป็นชื่อเรียกวิธีการในการแก้ปัญหาของกระบวนการทำงาน ที่อาศัยข้อมูลในการตัดสินใจ (Data Driven) ซึ่งจะมีขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน และทำการปรับปรุงในรูปของ Project ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความผันแปรซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียในกระบวนการ

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ
1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้
3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ามกลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)

ความแตกต่างระหว่าง Six Sigma กับหลักการปรับปรุงต่างๆ
Six Sigma เป็นกระบวนการที่รวบรวมหลักการปรับปรุงต่างๆ ได้แก่ Benchmarking, Productivity Improvement, Strategic Deployment และ Statistical and Techniques เป็นต้น นำมาหลอมรวมกันเพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าใจปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม มีเป้าหมายเด่นชัด และที่สำคัญที่สุดคือเห็นผลสำเร็จย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะว่าการบิหารแบบ Six Sigma จะเน้นการบริหารแบบบนลงล่าง (Top Down Management) คือระบบที่ผู้บริหารต้องผลักดันแนวความคิดและการปรับปรุงให้เกิดขึ้น นอกจากนี้ Six Sigma ยังเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถทำให้ องค์การต่างๆ ที่นำไปใช้สามารถบรรลุถึงข้อกำหนดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (National Quality Award)


แนวทางหลักการของ Six Sigma
แนวทางในการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมเพื่อบรรลุถึงความสามารถของกระบวนการในระดับ Six Sigma ที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วโลกประกอบด้วย 5 ชั้นตอน ได้แก่
1. กำหนดเป้าหมาย (Define Target)
2. การวัดความสามารถของกระบวนการ (Measure)
3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)
4. การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา(Improve)
5. การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)

2. วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC)
วงจรการพัฒนาระบบหรือที่นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า SDLC เป็นวิธีการที่นักวิเคราะห์ระบบใช้ในการพัฒนาระบบงาน เพื่อที่จะเรียงลำดับเหตุการณ์หรือกิจกรรม ที่จะต้องกระทำก่อนหรือกระทำภายหลัง เพื่อที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบงานทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน ถูกต้องว่าในแต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องทำอะไร ทำอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โดยทั่วไปวงจรการพัฒนาระบบจะมีการทำงานเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอนจะประกอบด้วยรายละเอียดของการทำงานหลายอย่าง รวมทั้งกำหนดเป้าหมายของการทำงานของแต่ละขั้นตอน และจะต้องแสดงความก้าวหน้าของโครงการที่ได้กระทำในแต่ละขั้นตอนด้วย โดยจะต้องมีการทำรายงานเพื่อแสดงผลการทำงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อเสนอให้ผู้บริหารพิจารณาตัดสินใจว่าจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปของการพัฒนาระบบ หรือเปลี่ยนทิศทางการทำโครงการนั้นหรือไม่ หรือหากขั้นตอนการพัฒนาระบบในขั้นตอนใดยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ ก็อาจจะต้องให้นักวิเคราะห์ระบบกลับไปศึกษารายละเอียดของการทำงานจนกว่าผู้บริหารจะสามารถตัดสินใจได้ วงจรการพัฒนาระบบนั้นมีการแบ่งออกเป็นขั้นตอน ซึ่งแล้วแต่การกำหนดขั้นตอนของแต่ละคน ไม่ค่อยเหมือนกัน ดังเช่น Christine B. Tayntor (Tayntor, 2002 : 111-177) กำหนดไว้ดังนี้
1. Project initiation
2. System analysis
3. System design
4. Construction
5. Testing and quality assurance
6. Implementation
จากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตมีการกำหนดขั้นตอนไว้ดังนี้
1. Project Identification and Selection
2. Analysis
3. Design
4. Implementation
5. Maintenance
และยังมีอินเทอร์เน็ตบางแห่งได้กำหนดขั้นตอนได้อีกดังนี้
1. การกำหนดปัญหา (Problem Definition)
2. การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
3. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
4. การออกแบบระบบ (System Design)
5. การสร้างระบบหรือพัฒนาระบบ (System Construction)
6. การติดตั้งระบบ (System Implementation)
7. การประเมินผลและการบำรุงรักษาระบบ (Post-implementation reviews and maintenance)
โดยสรุปแล้วการกำหนดขั้นตอนของวงจรการพัฒนาระบบตามที่ผู้เขียนกำหนดได้ดังนี้ 1) วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 2) การออกแบบระบบ (System Design) 3) การติดตั้งระบบ (System Implementation) 4) การทดสอบระบบ (System Testing) 5) การสร้างระบบ (System Production) 6) การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)

ตารางเปรียบเทียบขั้นตอนต่าง ๆ ของ SDLC กับ DMAIC

ขั้นตอนของ SDLC
ขั้นตอนของ DMAIC
System Analysis
Define, Measure, Analysis
System Design
Analysis
System Implementation
Improve, Control
System Testing
Improve
System Production
Improve
System Maintenance
Improve, Control

เอกสารอ้างอิง

Basu, Ron and Wright, Nevan. (2003). Quality Beyond Six Sigma. Oxford : Butterworth-
Heineman.
Brue, Greg. (2005). Six Sigma for Managers. New York : McGraw-Hill.
Evans, James R. and Lindsay, William M. (2005). An Introduction to Six Sigma & Process
Improvement. Ohio : Thomson.
Eches, George. (2003). Six Sigma for Everyone. New York : John Wiley & Sons.
Gupta, Praveen. (2004). Six Sigma Business Scorecard : Ensuring Performance for Profit.
New York : McGraw-Hill.
Pande, Pete and Holpp, Larry. (2002). What is Six Sigma?. New York : McGraw-Hill.
Tayntor, Christine B. (2002). Six Sigma Software Development. Boca Raton : Auerbach
Publications.
จารึก ชูกิตติกุล. (2548). “เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ : ปรัชญา สาระ และวิทยานิพนธ์”
วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 8 เดือนตุลาคม 2548.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ. (2546). คู่มือปฏิบัติ Six Sigma เพื่อสร้างความเป็นเลิศในองค์กร.
กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
วชิรพงษ์ สาลีสิงห์. (2548). ปฏิวัติกระบวนการทำงานด้วยเทคนิค Six Sigma ฉบับ Champion และ
Black Belt. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).